เมนู

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งกุศลกรรมนั้น เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น ราคะ ย่อม
เกิดขึ้น อุทธัจจะย่อมเกิดขึ้น โทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม เพราะปรารภจักษุเป็น
ต้นนั้น ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น อุทธัจจะ ย่อมเกิด
ขึ้น โทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[677] 1. ทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ทัสสเนน-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะที่เป็นทัสสเนน-
ปหาตัพพธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นแล้ว ครั้นกระทำทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
ราคะที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[678] 2. ทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวทัสส-
เนนนภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[679] 3. ทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ทัสสเนน-
ปหาตัพพธรรม และเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[680] 4. ภาวนาปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะที่เป็นภาว-
นายปหาตัพพธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ครั้นกระทำราคะนั้น
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อม
เกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[681] 5. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ทัสสเนน-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาอธิปติ ได้แก่
บุคคลกระทำราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ
ย่อมเกิดขึ้น.
[682] 6. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวทัสส-
เนนนภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย.

[683] 7. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม และเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย.
[684] 8. เนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่เนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติ
ปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำกุศล
กรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมพิจารณา.
กระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ.
ออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อม
พิจารณา.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ย่อมพิจารณา, กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
ย่อมพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมพิจารณา.

นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[685] 9. เนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่ทัสสเนนปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ครั้นกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็น
ทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
กระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ.
ออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ฯลฯ ...
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำหทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
เนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น
กระทำหทัยวัตถุเป็นต้น นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็น
ทัสสเนนปหาตัพพธรรมย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

[686] 10. เนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี ย่อม
เพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งกุศลกรรมนั้น เพราะกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรมย่อมเกิดขึ้น.
กระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ.
บุคคลย่อมยินดีย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น
กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นภาวนายปหา-
ตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.

4. อนันตรปัจจัย


[687] 1. ทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ทัสสเนน-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย.
[688] 2. ทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวทัสส-
เนนนภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ